เว็บไซต์ WordPress เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ไม่ว่าจะธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ต่างก็เลือกทำเว็บไซต์ด้วย WordPress หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังต้องการทำเว็บไซต์ WordPress ก็ควรทำความเข้าใจ WordPress ขั้นพื้นฐานก่อนตัดสินใจ
- ทำความเข้าใจว่า WordPress คืออะไร
- ข้อดีของ WordPress
- ข้อจำกัดของ WordPress
- ประเภทของเว็บไซต์ WordPress
- ทำไมต้องทำเว็บไซต์ WordPress กับ Wynnsoft Solution
- ราคาบริการ รับทำเว็บไซต์ WordPress
1. ทำความเข้าใจว่า WordPress คืออะไร
เว็บไซต์ WordPress คือ เว็บไซต์ที่ใช้ WordPress ในการจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ (content management system: CMS) ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เว็บไซต์ส่วนใหญ่ในโลกมักเป็นเว็บไซต์ที่สร้างมาจาก WordPress เนื่องจากเว็บไซต์ WordPress สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบ แม้แต่ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงก็ยังหันมา ทำเว็บไซต์ WordPress ในการขับเคลื่อนธุรกิจ และนี่คือตัวอย่างขององค์กรระดับโลกที่เลือกทำเว็บไซต์ WordPress
2. ข้อดีของ WordPress
- เลือกเทมเพลตได้หลากหลาย แม้ว่าคุณจะไม่ได้จ้างนักออกแบบในการออกแบบเว็บไซต์ แต่ WordPress ก็มีเทมเพลตจำนวนมากให้เลือกใช้ตามต้องการ และเทมเพลตจำนวนไม่น้อยก็มีฟังก์ชันที่สามารถช่วยแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนได้
- ปลั๊กอินนับพัน แม้ว่าคุณจะไม่มีความเชี่ยวชาญในการทำเว็บไซต์ แต่คุณก็สามารถเลือกใช้ปลั๊กอินใน WordPress เพื่อเพิ่มฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์ได้ ปลั๊กอินต่างๆ สามารถจัดการเว็บไซต์ได้แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ ตั้งแต่การเพิ่มสไลด์โชว์ กล่องแบบฟอร์มไปจนถึงการสร้างร้านค้าออนไลน์ที่ซับซ้อน และปัจจุบันมีปลั๊กอินให้เลือกเกือบ 40,000 รายการ
- รองรับการทำ SEO WordPress มีฟังก์ชันเพื่อรองรับการทำงานของ SEO เพื่ออำนวยความสะดวกในการเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหา ที่สำคัญคุณยังสามารถเพิ่มฟังก์ชันการค้นหาลงในทุกหน้าของเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย WordPress อนุญาตให้แท็กเนื้อหาทั้งหมด สร้าง URL ที่มีคำสำคัญแบบกำหนดเอง และอนุญาตให้มีการติดตามและ pingbacks ซึ่งจะช่วยให้เว็บไซต์ปรากฏในการค้นหาออนไลน์
- การอัปเดตเว็บไซต์ เมื่อเว็บไซต์ได้รับการออกแบบและพัฒนาเรียบร้อยแล้ว การเพิ่มหน้าใหม่ โพสต์ รูปภาพ และอื่นๆ นั้นสามารถทำได้อย่างง่ายดาย
- เพิ่มโค้ดได้ คุณสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ให้สมบูรณ์มากขึ้น เพราะ WordPress อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงโค้ดได้ด้วยหากมีความจำเป็น
- อัปเกรดซอฟต์แวร์บ่อยครั้ง WordPress เป็นโครงการโอเพนซอร์ซ ดังนั้นข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยใน WordPress จึงมักจะได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว อีกทั้งฟีเจอร์ใหม่ๆ ก็ยังมีขึ้นมาเรื่อยๆ ส่วนธีมและปลั๊กอินก็จะได้รับการอัปเดตอยู่เป็นประจำ
- ฐานผู้ใช้ขนาดใหญ่ ปัจจุบัน WordPress มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากถึง 60% หมายความว่าเว็บไซต์สำเร็จรูป 75 ล้านเว็บไซต์มาจากการทำเว็บไซต์ WordPress
- ระบบจัดการเนื้อหา (CMS) มีระบบจัดการเนื้อหา (CMS) ที่ง่ายต่อการใช้งาน และค่อนข้างสอดคล้องกับมาตรฐานของเว็บไซต์ทั่วไป ผู้ใช้สามารถเพิ่มหน้าและโพสต์ใหม่ได้อย่างไม่ซับซ้อน อีกทั้งยังมีปลั๊กอินมากมายที่สามารถเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานให้กับ CMS
3. ข้อจำกัดของ WordPress
- ผู้ใช้ต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัย การสำรองข้อมูล และติดตั้งการอัปเดต แม้ว่าผู้ใช้จะสามารถตั้งค่าให้ระบบต่างๆ ทำงานโดยอัตโนมัติ แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังต้องการความสนใจจากผู้ใช้ เว้นแต่ว่าคุณจะเลือกใช้บริการเว็บโฮสติ้งจากบริษัทที่พร้อมดูแลระบบให้ด้วย
- WordPress ไม่ได้มาพร้อมกับตัวสร้างเว็บไซต์แบบลากและวาง แม้การใช้งาน WordPress จะไม่ได้ยุ่งยากมากขนาดนั้น แต่ก็ไม่ได้ง่ายแบบลากวาง เพราะคุณต้องใช้เวลาพอสมควรในการทำความคุ้นเคยและเรียนรู้การใช้งานพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม คุณสามารถใช้หนึ่งในปลั๊กอินตัวสร้างเพจแบบลากและวางยอดนิยมสำหรับ WordPress ได้ด้วยเช่นกัน
- ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้การเขียนโค้ดเพื่อใช้กับ WordPress แต่ความรู้พื้นฐานบางอย่างเกี่ยวกับ HTML และ CSS จะทำให้การใช้งาน WordPress ง่ายขึ้น
4. ประเภทของเว็บไซต์ WordPress
1. บล็อก เว็บไซต์ที่เน้นการแบ่งปันความคิดเห็น รูปภาพ บทวิจารณ์ บทเรียน สูตรอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย
2. เว็บไซต์ E-commerce เว็บไซต์สำหรับขายสินค้าหรือบริการออนไลน์ และเรียกเก็บเงินผ่านระบบชำระเงินออนไลน์
3. เว็บไซต์ธุรกิจ เว็บไซต์ที่เน้นการนำเสนอข้อมูลธุรกิจให้เป็นที่รู้จักบนโลกออนไลน์
4. เว็บไซต์สมาชิก เว็บไซต์ที่มีระบบสมาชิก ผู้ใช้ต้องเข้าสู่ระบบหรือชำระเงินเพื่อให้สามารถเข้าสู่เนื้อหาของเว็บไซต์
5. เว็บไซต์ Portfolio สำหรับแสดงงานศิลปะ ทักษะการออกแบบ หรือผลงานอื่นๆ ที่ผู้ใช้ต้องการ
6. เว็บไซต์ฟอรัม เว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้ถามคำถามหรือแบ่งปันคำแนะนำ และปัจจุบันเว็บไซต์ฟอรัมจำนวนมากก็มาจากการทำเว็บไซต์ WordPress
7. เว็บไซต์ Event WordPress เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้แชร์รายละเอียดงานอีเวนต์และขายตั๋วได้อย่างง่ายดาย
8. เว็บไซต์ E-learning หากคุณเป็นอาจารย์หรือติวเตอร์ คุณสามารถสร้างหลักสูตรออนไลน์ได้ง่ายๆ ด้วยการทำเว็บไซต์ WordPress นักศึกษาสามารถเรียนออนไลน์ ดาวน์โหลดเอกสาร และทำกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายได้บนเว็บไซต์ E-learning