15 สิงหาคม 2566 ครีเอทีฟด้านการสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ และการออกแบบเว็บไซต์
อัลกอริทึม คือต้นเหตุของการแบ่งขั้วทางการเมืองจริงหรือไม่

หากใครยังพอจำได้เมื่อปี 2016 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีการพูดถึงและวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการแพร่กระจายข่าวปลอม ข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ และการแบ่งขั้วทางการเมือง 

 

แน่นอนว่าเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ทั่วโลกเกิดคำถามหรือเกิดความกังวลเป็นอย่างมาก เกี่ยวกับการเสพข่าวต่างๆ บน Facebook ผ่าน Algorithm (อัลกอริทึม) ที่ซับซ้อนและเลือกแสดงเฉพาะ Content ที่ตนมีโอกาสชื่นชอบสูง

 

โดยเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้คำว่า Echo Chamber (เอคโค่แชมเบอร์) ถูกนำมาใช้อธิบายการที่ผู้ใช้งานเห็นแต่ Content ที่ตนชอบและพึงพอใจ ซึ่งทำให้ไม่ได้เห็นข้อมูลอื่นๆ ที่อาจจะขัดแย้งต่อข้อมูลที่ถูกนำมาแสดงผลโดย Algorithm

 

ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลให้ผู้ใช้งานเกิดการแบ่งขั้วกันอย่างชัดเจนนั่นเองละครับ

 

อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดงานวิจัยใหม่ 4 ชิ้น พร้อมข้อสรุปที่ระบุว่า: “Algorithm ของข่าวสารบน Facebook อาจไม่ใช่ปัจจัยหลักในการแบ่งขั้วทางการเมือง” อย่างที่หลายคนคิดนั่นเอง

 

งานวิจัยหลักทั้ง 4 ชิ้นได้แก่

1. Content ที่มีจุดยืนเดียวกันบน Facebook อาจเป็นที่นิยม แต่ไม่ได้ทำให้เกิดการแบ่งขั้ว (Like-minded sources on Facebook are prevalent but not polarizing)
 

2. Algorithms ข่าวสารของโซเชียลมีเดียกระทบต่อมุมมองและพฤติกรรมในช่วงหาเสียงเลือกตั้งอย่างไร (How do social media feed algorithms affect attitudes and behavior in an election campaign?)

 

3. การ Share บนโซเชียลมีเดียอาจช่วยกระจาย Content แต่ไม่กระทบโดยตรงต่อมุมมองหรือความเชื่อ (Reshares on social media amplify political news but do not detectably affect beliefs or opinions)

 

4. การแบ่งแยกทางความคิดอย่างไม่สมมาตรจากการรับรู้ข่าวการเมืองบน Facebook (Asymmetric ideological segregation in exposure to political news on Facebook)

 

งานวิจัยชุดนี้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างในช่วงเลือกตั้งเมื่อปี 2020 โดยได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มแนวคิดก้าวหน้า (Liberal)

2. กลุ่มอนุรักษ์นิยม (Conservative)

 

จากนั้นให้ทั้ง 2 กลุ่มทดลองใช้งาน Facebook ใน 2 ลักษณะ ได้แก่

1. ฟีดข่าวสารด้วย Algorithm ที่จะนำเอา Content ในรูปแบบที่ผู้ใช้งานมีแนวโน้มจะชื่นชอบมาแสดง

2. ฟีดข่าวที่ถูกแสดงตามลำดับเวลาและไม่ถูกปรุงแต่งด้วย Algorithm (Chronological Feed) 

 

จากนั้นทำการศึกษาพฤติกรรมและแนวโน้มการแชร์ รวมถึงมุมมองที่มีต่อข่าวสารทางการเมือง: สำหรับผลการศึกษาพบว่าความแตกต่างของฟีดข่าวทั้ง 2 ลักษณะ มีดังนี้

1. พบว่า: ไม่ได้ทำให้มุมมองของกลุ่มตัวอย่างเปลี่ยนไปแต่อย่างใด 

2. พบว่า: ฟีดข่าวที่ไม่ถูกปรับแต่งด้วย Algorithm นั้นกลับทำให้ข่าวที่เป็นข่าวปลอมเยอะขึ้นด้วย

 

หมายเหตุ: ทั้งหมดเป็นการศึกษาร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษา ได้แก่

1. บริษัทเมตา (Meta) ผู้ให้บริการ Faceook โดยตรง

2. มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น (Northwestern University) 

3. มหาวิทยาลัยเท็กซัส ออสติน (University of Texas at Austin)

 

ทั้งนี้ งานวิจัยและข้อสรุปดังกล่าว เป็นเพียงกระบวนการหนึ่ง ที่ใช้อธิบายอิทธิพลของโซเชียลมีเดียต่อพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ ซึ่งยังคงต้องมีการศึกษาต่อไปเพื่อทำให้ความขัดแย้งนำไปสู่การพัฒนาในอนาคต นั่นเอง 




 

---Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ

ข้อมูลจาก: Nature thaipbs.or.th