06 กันยายน 2559
ข้อควรรู้! เว็บไซต์ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ข้อควรรู้! เว็บไซต์ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

    การทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต หรือเรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันเว็บไซต์ต้องมีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำได้โดยบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในประเทศไทยและจะต้องประกอบพาณิชย์กิจในเชิงพาณิชย์โดยอาชีพปกติ ดังนี้

        1.) ซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ บุคคุลที่มีเว็บไซต์เพื่อทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการ

        2.) บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)

        3.) ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)

        4.) บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Marketplace)

    ซึ่งวันนี้เรามีข้อควรรู้ เกี่ยวกับเว็บไซต์ที่จำเป็นต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาให้ศึกษากันก่อนที่จะไปเปิดเว็บไซต์เป็นของตนเองให้ได้ทราบกันค่ะ

 

เว็บไซต์ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

    1. มีระบบการสั่งซื้อ เช่น

        - ระบบกรอกฟอร์ม

        - ระบบตะกร้าสินค้า

        - E-mail

        - อื่นๆ

    2. มีระบบการชำระเงินออฟไลน์หรืออนไลน์ เช่น

        - การโอนเงินอ่านระบบบัญชี

        - การชำระเงินด้วยบัตรเครดิต

        - E-cash

        - E-wallet

    3. มีระบบสมาชิก เพื่อรับบริการข้อมูลอื่นๆ

        - บริการข่าวสาร

        - บทความ

        - หนังสือ

        - การรับสมัครงานผ่านอินเทอร์เน็ต

    4. มีวัตถุประสงค์หลักในการรับจ้างโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้อื่น และมีรายได้จากการบริการ

    5. รับจ้างออกแบบเว็บไซต์ โดยมีการโฆษณา เช่น

        - รับออกแบบเว็บไซต์ เนื่องจากว่าการออกแบบเว็บไซต์มีช่องทางการค้าปกติบนอินเทอร์เน็ต

    6. เว็บไซต์ให้บริการเกมส์ออนไลน์ ที่คิดค่าบริการจากผู้เล่น โดยที่เจ้าของเว็บไซต์ต้องจดทะเบียน

    7. เว็บไซต์ที่มีการส่งมอบสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต เช่น การดาว์นโหลดโปรแกรมเกมส์, ริงโทน, screen sever, SMS เป็นต้น

 

เว็บไซต์ที่ไม่ต้องจดทะเบียน

    1. มีเฉพาะหน้าร้านโชว์สินค้า โดยที่ร้านค้าทำการค้าในช่องทางปกติไม่ได้ใช้ในอินเทอร์เน็ต ถึงแม้จะมีข้อความ เช่น สนใจโทรติดต่อ, สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม เป็นต้น

    2. การโฆษณาสินค้าของตนเอง โดยที่การโฆษณานั้นไม่ใช่ช่องทางการค้าปกติ ถึงแม้ว่าจะมีการนำเอาแบรนด์เนอร์ของผู้อื่นมาติด และจะมีรายได้จากแบรนด์เนอร์ก็ตาม

    3. การประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลจากสมาชิกหรือบุคคลทั่วไป โดยไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูล เช่น เพื่อการสอนประกาศรับสมัครงาน, การประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือสินค้า, เว็บไซต์ส่วนตัวที่สร้างขั้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว, การศึกษา, การงาน หรือความสนใจส่วนตัว

    4. เว็บไซต์เป็นสื่อกลางด้านข้อมูล โดยมีจุดประสงค์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย

    5. ร้านอินเทอร์เน็ตที่เจ้าของร้านได้รายได้จากค่าชั่วโมงการเล่นอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน้ตคาเฟ่, ร้านเกมส์คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เจ้าของร้านอินเทอร์เน็ตไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่ให้จดทะเบียนพาริชย์ปกติ ถือเป็นพาณิชย์กิจธรรมดาในช่องทางปกติไม่ใช่ e-commerce

 

 

 

เครดิต : https://www.youtube.com/watch?v=ryPgFClZlL8